เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศ
จุดกําเนิดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
คือ ความต้องการในการที่จะสื่อสารกันเพราะอยู่คนละอําเภอ คนละตําบล
หรือคนละจังหวัดกัน จึงคิดค้นหาวิธีที่จะติดต่อสื่อสารกัน โดยเริ่มจากการส่งจดหมาย
เพราะเมื่อมีการค้าเกิดขึ้น การที่จะติดต่อกันนั้นถือเป็นเรื่องสําคัญเลยก็ว่าได้อย่างที่กล่าวไว้ว่าได้เริ่มจากการส่งจดหมายกัน จึงมีการคิดค้นวิธีที่จะติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นหลายวิธีจึงทําให้เกิดพัฒนาการทางด้านนี้ ซึ่งจะมี หลายวิธีมากยิ่งขึ้น รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา
ทั้งกระนั้นก็ยังมีความต้องการที่จะติดต่อบุคคลที่อยู่คนล่ะประเทศกันเพื่อการค้าหรือด้วยเหตุต่างๆ
จึงทําให้เกิดการคิดค้นการส่งสัญญาณไฟฟ้าและเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสามารถใส่ทั้ง
คําพูดหรืออักษรส่งหาถึงกันได้โดยผ่านทางสายต่างๆและนี่ก็คือ จุดเริ่มต้นและการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน
ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Information Technology เรียกย่อๆว่า “IT” หรือ ไอที โดยมีคําที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 คําคือ
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทําให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่างๆ
ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น เช่น ทรายหรือซิลิกอน เป็นสารแร่ที่พบเห็นทั่วไปตามชายหาด
หากนํามาสกัดด้วยเทคโนโลยี และใช้เทคนิควิธีการสร้างเป็นชิป(chip) สําหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จะทําให้สารแร่ซิลิกอนนั้นมีคุณค่า
และมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อีกมาก
สารสนเทศ (Information) หมายถึง
ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์สิ่งของ
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หากมีการจัดเก็บรวบรวม เรียกค้น
และสื่อสารระหว่างกันนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ สารสนเทศมีความหมายที่กว้างไกล
ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนเพิ่มเติม
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology : IT) หมายถึง
การนําเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ มาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
ทําให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวมจัดเก็บใช้งาน
ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก
ทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศที่สําคัญ
ได้แก่ เทคโนโลยีการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ สารสนเทศ ขั้นตอนวิธีการดาเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์
เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดําเนินงาน
เพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
·
ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
· ความถูกต้อง
(accuracy)
· ความเชื่อถือได้
(reliability)
·
การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
ชัดเจน
(clarity)
· ระดับรายละเอียด
(level of detail)
· รูปแบบการนําเสนอ
(presentation)
· สื่อการนําเสนอ
(media)
· ความยืดหยุ่น
(flexibility)
· ประหยัด
(economy)
· ความรวดเร็วและทันใช้
(timely)
· การปรับปรุงให้ทันสมัย
(up-to-date)
·
มีระยะเวลา (time
period)
กระบวนการ (Process)
- ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
- การมีส่วนร่วม (participation)
- การเชื่อมโยง (connectivity)
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การกําเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว
เป็นก้าวสําคัญที่นําไปสู่ยุค สารสนเทศ ในช่ว งแรกมีการนําเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เ
ป็นเครื่องคํานวณแต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สําคัญสําหรับการจัดการข้อมูลเมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้นทําให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง
แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมากมีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมกล่าวได้ดังนี้
การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง
มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอํานวยความสะดวกภายในบ้าน
เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมระบบ ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นต้น
สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน
การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนําคอมพิวเตอร์
และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์
เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน
คํานวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทํารายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนรู้การสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง จําเป็นต้องใช้สารสนเทศเช่น การดูแลรักษาป่า
จําเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมการติดตามข้อมูลสภาพอากาศ
การพยากรณ์อากาศ การจําลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงแก้ไข
การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ
ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วยที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ
กิจการทางด้านการทหาร มีการใช้เทคโนโลยี
อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ลวนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทํางาน
การผลิตในอุตสาหกรรม
และการพาณิชยกรรม
การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจําเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก
ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทมาก
มีการใช้ขอมูลข่าวสารเพื่อการบริหาร และการจัดการ การดําเนินการและยังรวมไปถึง
้การให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวตประจําวัน บทบาทเหล่านีมีแนวโน้มที่สําคัญมากยิ่งขึ้นด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จงควรเรียนรู้ขึ้นและเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจะได้
เป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ตอประเทศต่อไป
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น
การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียมระบบจําลอง ระบบเสมือนจริง
โดยพยายามนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นําไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย
แนวโน้มใน ด้านบวก
1. การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ช่องทางการดําเนินธุรกิจ เช่น
การทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง
ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
2. การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้
อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง
เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั่นจริง
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้
การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา
(tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24
ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน(virtual library)
4. การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย
เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ทําให้สามารถค้นหาตําแหน่งได้อย่างแม่นยํา
5. การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ
ดําเนินการของภาครัฐที่เรียกว่ารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government)
รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen
แนวโน้มใน ด้านลบ
1. ความผิดพลาดในการทํางานของระบบ คอมพิวเตอร์
ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา
ทําให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา
การทําสําเนาและลอกเลียนแบบ
3.การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด
การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)